ประกันสังคม มาตรา 40 คืออะไร ได้รับเงิน 5000 บาทวันไหน
อัปเดต :
ประกันสังคม มาตรา 40 คือ?
สรุปได้ว่าผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 , มาตรา 39
คุณสมบัติผู้สมัครประกันสังคม มาตรา 40
- สัญชาติไทย
- มีอาชีพอิสระ (ใน 69 กลุ่มอาชีพ)
- อายุ 15 ปี ถึง 65 ปี
- ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน มาตรา 33
- ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39
- ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยขึ้นต้นด้วยเลข 0, 6, 7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย 00)
- ผู้พิการที่รับรู้สิทธิก็สมัครได้
👍 วิธีสมัครประกันสังคม ม.40 แบบละเอียด
สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนมาตรา 40
สำนักงานประกันสังคมได้แบ่งทางเลือกให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 40 ออกเป็น 3 แบบดังนี้
- ผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 70 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 100 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 300 บาท
สิทธิของกลุ่มที่ 1 ผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 70 บาท
ท่านจะได้รับ 3 สิทธิพิเศษดังนี้
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยรับค่าทดแทนขาดรายได้
- กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
กรณีที่ 1 สิทธิเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบอัตราย
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 30 วัน/ปี
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง ) ครั้งละ 50 บาท
กรณีที่ 2 กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500 – 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
กรณีที่ 3 กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท
สิทธิของกลุ่มที่ 2 ผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 100 บาท
ท่านจะได้รับ 4 สิทธิพิเศษดังนี้
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยรับค่าทดแทนขาดรายได้
- กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
กรณีที่ 1 สิทธิเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบอัตราย
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 30 วัน/ปี
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง ) ครั้งละ 50 บาท
กรณีที่ 2 กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500 – 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
กรณีที่ 3 เสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท
กรณีที่ 4 เงินชราภาพ
- สะสมเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินออม) จากเงินสมทบ เดือนละ 50 บาท (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน)
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมได้เพิ่มไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท
สิทธิของกลุ่มที่ 3 ผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 300 บาท
ท่านจะได้รับ 5 สิทธิพิเศษดังนี้
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยรับค่าทดแทนขาดรายได้
- กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
กรณีที่ 1 สิทธิเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบอัตราย
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 90 วัน/ปี
กรณีที่ 2 กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500 – 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลาตลอดชีวิต
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
กรณีที่ 3 เสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
กรณีที่ 4 เงินชราภาพ
- สะสมเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินออม) จากเงินสมทบ เดือนละ 150 บาท (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน)
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม 10,000 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมได้เพิ่มไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท
กรณีที่ 5 เงินสงเคราะห์บุตร
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปี เดือนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน (ต้องจ่ายสมทบมาแล้ว 24 เดือน ให้นับย้อนหลัง 36 เดือนได้)