ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยามาตรา 33 39 และ 40 ทั้ง 29จังหวัดได้แล้ว
อัปเดต :
สำนักงานประกันสังคมพร้อมเปิดให้ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยามาตรา 33 39 และ 40 ได้ทั้ง 29 จังหวัด 9 ประเภทกิจการ โดยท่านที่ได้รับสิทธิ์ควรผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประจำตัวประชาชนไว้เพราะสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานจะจ่ายเงินเยียวยามาตรา 33 39 และ 40 โอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์เท่านั้น
- ปุ่มตรวจสอบเงินเยียวยามาตรา 40 (อาชีพอิสระ)
หากท่านตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาแล้วได้รับสิทธิ์แนะนำให้ผูกบัญชีพร้อมเพย์ธนาคารด้วยเลขบัตรประชาชนไว้ รอรับเงินครับ
👍 วิธีผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคาร ธ.ก.ส.
👍 วิธีผูกบัญชีธนาคารพร้อมเพย์กับออมสิน
วิธีตรวจสอบสิทธิ์เยียวยามาตรา 33 39 และ 40
โปรดเตรียมเลขบัตรประชาชนของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเพื่อตรวจสอบสิทธิ์เยียวยารับเงินเยียวยาจากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
- ป้อนเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ประกันตน
- กรอกรหัสให้ตรงกับรูปภาพ 6 ตัว เช่น 903503 เป็นต้น
- กดปุ่มค้นหา เพื่อตรวจสอบสิทธิ์เงินเยียวยามาตรา 33 39 และ 40
คุณสมบัติผู้ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา
- เป็นผู้ประกันตน
- ทำงานอยู่ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม
- มีอาชีพใน 9 ประเภทกิจการ (มาตรา 33)
- มีอาชีพสุจริต (มาตรา 39 และ 40)
ข้อที่ 1 เป็นผู้ประกันตน
ท่านจะต้องเป็นผู้ประกันตนตามสิทธิ์ เช่น เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ 39 หรือ 40 การได้รับเงินเยียวยาจะขึ้นอยู่กับมาตราที่ท่านเป็นผู้ประกันตนด้วย
ข้อที่ 2 ทำงานอยู่ในพื้นที่ 29 จังหวัด
แบ่งออกเป็น 3 ช่วงจังหวัด โดยยึดจากคำสั่งเพิ่มพื้นที่จังหวัดสีแดงเข้ม ณ ตอนนี้มี 29 จังหวัดสีแดงเข้ม
ช่วงที่ 1 – 10 จังหวัดแรก (12 ก.ค. 64)
- กรุงเทพมหานคร
- นครปฐม
- นนทบุรี
- ปทุมธานี
- สมุทรปราการ
- สมุทรสาคร
- นราธิวาส
- ปัตตานี
- ยะลา
- สงขลา
ช่วงที่ 2 – 3 จังหวัดหลัง (18 ก.ค. 64)
- ฉะเชิงเทรา
- ชลบุรี
- พระนครศรีอยุธยา
ช่วงที่ 3 – 16 จังหวัดสีแดงเข้ม (3 ส.ค. 64)
- กาญจนบุรี
- ตาก
- นครนายก
- นครราชสีมา
- ประจวบคีรีขันธ์
- ปราจีนบุรี
- เพชรบุรี
- เพชรบูรณ์
- ระยอง
- ราชบุรี
- ลพบุรี
- สิงห์บุรี
- สมุทรสงคราม
- สระบุรี
- สุพรรณบุรี
- อ่างทอง
ข้อที่ 3 มีอาชีพใน 9 ประเภทกิจการ (มาตรา 33)
ขอยกตัวอย่างอาชีพในประเภทกิจการที่จะได้รับเงินเยียวยาจากสำนักงานประกันสังคม
- ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
- การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
- การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์
- กิจการรมการบริหารและบริการสนับสนุน
- กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
- ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
- การก่อสร้าง
- กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
- ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
ตัวอย่างที่ 1 อาชีพที่เกี่ยวกับที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
- โรงแรม
- รีสอร์ท
- เกสต์เฮ้าส์
- ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท
- การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร
- การบริการด้านอาหารบนแผงลอยและตลาด
- การบริการด้านการจัดเลี้ยง
- การบริการด้านเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักในร้าน
ตัวอย่างที่ 2 อาชีพที่เกี่ยวกับการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
- การขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจำทางระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดอื่น และระหว่างจังหวัด
- การขนส่งผู้โดยสารโดยรถยนต์รับจ้าง/แท็กซี่/รถสามล้อเครื่อง/จักรยานยนต์รับจ้าง
- การขนส่งสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็งทางถนน
- การขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ทางถนน
ตัวอย่างที่ 3 อาชีพที่เกี่ยวกับการขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมยานยนต์
- ห้างสรรพสินค้า
- ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
- การขายปลีกสินค้าทั่วไป
ตัวอย่างที่ 4 อาชีพเกี่ยวกับกิจการรมการบริหารและบริการสนับสนุน
- ธุรกิจจัดนำเที่ยว
- กิจกรรมของมัคคุเทศก์
- กิจกรรมการรักษาความปลอดภัย
- การบริการทำความสะอาด
- การจัดการประชุมและจัดการแสดงสินค้า (event)
ตัวอย่างที่ 5 อาชีพที่เกี่ยวกับกิจการรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
- กิจกรรมของบริษัทโฆษณา
- กิจกรรมการออกแบบและตกแต่งภายใน
- การตวรจสอบบัญชี
- การให้คำปรึกษาด้านภาษี
ตัวอย่างที่ 6 อาชีพที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารและการสื่นสาร
- กิจกรรมการผลิตภภภาพยนตร์และวีดีทัศน์
- กิจกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์
- กิจกรรมด้านการจัดฉายภาพยนตร์
ตัวอย่างที่ 7 อาชีพที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง
- การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย
- การก่อสร้างถนน
- สะพานและอุโมงค์
- การติดตั้งระบบประปาและระบายน้ำ
ตัวอย่างที่ 8 อาชีพที่เกี่ยวกับกิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ
- กิจกรรมสปา
- กิจกรรมการแต่งผม
- กิจกรรมการดูแลความงาม แต่งเล็บมือและเล็บเท้า
- กิจกรรมเกี่ยวกับงานศพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างที่ 9 อาชีพที่เกี่ยวกับศิลปะ ความบัญเทิงและนันทนาการ
- การดำเนินงานของสถานที่ออกกำลังกาย
- กิจกรรมด้านสโมสรกีฬา
- กิจกรรมด้านสวนสนุกและธีมปาร์ค
- กิจกรรมการแสดงโชว์เพื่อความบัญเทิงและการนันทนาการ