วิธีทำบัตรคนพิการ หรือ บัตรประจำตัวคนพิการ ล่าสุด 2564
อัปเดต :
ทำบัตรคนพิการต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- รูปถ่าย 1 นิ้ว 2 ใบ
- เอกสารรับรองความพิการ
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
- หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
*จำเป็นต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงเพื่อยืนยันตัวตนด้วย
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
เตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้พิการพร้อมกับลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง หรือใช้ลายนิ้วมือได้ – 1 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
ให้ท่านเตรียมสำเนาทะเบียนบ้านของผู้พิการพร้อมกับลงลายมือชื่อพร้อมกับรับรองสำเนาถูกต้อง หรือประทับตราลายนิ้งมือได้ – 1 ฉบับ
3. รูปถ่าย 1 นิ้ว
รูปถ่ายหน้าตรงของผู้พิการโดยไม่สวมแว่นตา ไม่ยิ้ม เห็นลักษณะของใบหน้าชัดเจน
- รูปสี
- ขนาด 1 นิ้ว
- จำนวน 2 รูป
- รูปถ่ายต้องไม่เกิน 6 เดือนที่ผ่านมา
4. เอกสารรับรองความพิการ
เอกสารรับรองความพิการจะต้องนำฉบับจริงแนบมาเท่านั้น โดยจะต้องเป็นโรงพยาบาลรัฐบาล หรือ โรงพยาบาลของเอกชนที่อยู่ในประกาศ
- เอกสารต้องเป็นตัวจริง
- ขอใบรับรองความพิการได้ที่ โรงพยาบาลของรัฐ (หรือโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่ในประกาศ)
- อายุของใบรับรองไม่ควรเกิน 1 เดือนที่ผ่านมา
*รายชื่อโรงพยาบาลในประกาศหน้า 1 / หน้า 2 / หน้า 3
เอกสารผู้ดูแลที่ต้องเตรียม
จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้
1. กรณีที่อยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกัน
สำหรับคนพิการที่มีทะเบียนเดียวกับผู้ดูและสามารถจัดเตรียมเอกสารดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) 1 ฉบับ
*เอกสารจำเป็นต้องลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องทุกแผ่น
2. กรณีผู้พิการอยู่คนละทะเบียนบ้าน
ท่านจำเป็นต้องจัดเตรียมเอกสารเพิ่มคือ หนังสือรับรองความพิการอีก 1 ฉบับ เพิ่มลงทะเบียนเป็นผู้ดูแลคนพิการ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) 1 ฉบับ
- หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการ 1 ฉบับ
*ผู้ที่รับรองต้องอาศัยอยู่ในเขตชุมชนหรือเขตเดียวกันกับคนพิการจริง โดยแนบสำเนาบัตรประจำตำแหน่งบัตรข้ารารชการ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนา
ข้าราชการบำเน็จบำนาญไม่สามารถรับรองได้
ขั้นตอนการทำบัตรประจำตัวผู้พิการ
ท่านสามารถยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวคนพิการได้ที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำจังหวัด ทุกจังหวัด
- ยื่นคำร้อง
- ตรวจสอบหลักฐาน / ข้อเท็จจริง
- ถ่ายรูป
- ตรวจสอบข้อมูล
- มอบบัตรประจำตัวผู้พิการให้คนพิการ
สิทธิประโยชน์ของคนพิการ
- เบี้ยความพิการ
- กู้เงินเพื่อประกอบอาชีพ
- ปรับสภาพที่อยู่อาศับ
- ช่วยเหลือทางกฏหมาย
- สิทธิทางอาชีพ
- สิทธิทางการศีกษา
- สิทธิทางการแพย์
- ลดหย่อนค่าขนส่งสาธารณะ
- สิทธิ์ ลดหย่อนภาษี
สรุป 3 สิทธิพิเศษสำหรับคนพิการ
สิทธิ์ที่ 1 เบี้ยความพิการ
คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการจะได้รับเบี้ยความพิการเดือนละ 800 บาท/เดือน (ปรับเพิ่มเบี้ยความพิการเป็น 1,000 บาท) หลังจากได้ทำการยื่นขอรับเบี้ยความพิการที่ สำนักงานเขต อบต. เทศบาล
สิทธิเบี้ยความพิการจะมีอยู่ 3 กลุ่มดังนี้
- ผู้พิการที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้เพิ่มอีก 200 บาท รวมแล้วรับ 1,000 บาท
- ผู้พิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับปรับเพิ่มเบี้ยความพิการเป็น 1,000 บาท
- ผู้พิการที่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และอายุเกิน 18 ปี จะได้รับเงินเท่าเดิมคือ 800 บาท
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ได้รับเบี้ยคนพิการ
- มีสัญชาติไทย
- มีภูมิลำเนาในเขต ตามทะเบียนบ้าน
- มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ
- ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ
สิทธิที่ 2 กู้เงินเพื่อประกอบอาชีพ
คนพิการอายุเกิน 20 ปี หรือผู้ดูแลคนพิการสามารถยื่นความประสงค์ขอกู้ยืมเงินจากกองทุนฯ คนพิการได้ไม่เกิน 120,000 บาท และกู้รวมรายกลุ่มไม่เกิน 1 ล้านบาท (เงินกู้ผู้พิการเพื่อประกอบอาชีพ)
- กู้สูงสุด 60,000 บาท (ขอเพิ่มได้ในภายหลังแต่ไม่เกิน 120,000 บาทของยอดหนี้รวม)
- ไม่มีดอกเบี้ย
- ผ่อนนาน 5 ปี
- มีคนค้ำประกันตามเกณฑ์วงเงินที่กู้ (ข้าราชการค้ำประกัน)
เงินกู้ฉุกเฉินเพื่อผู้พิการ
รัฐบาลปล่อยให้ผู้พิการกู้สินเชื่อฉุกเฉิน 1 หมื่นบาท
- เป็นผู้พิการ / ผู้ดูแลคนพิการ
- ไม่เกิน 1 หมื่นบาท
- ไม่มีคนค้ำ
- ไม่มีดอกเบี้ย
- ผ่อนนาน 2 ปี
- ลงทะเบียนกู้สินเชื่อผ่านเว็บไซต์เท่านั้น
*เงินกู้พิเศษ 10,000 บาท (รายละเอียดเงินกู้คนพิการ 10,000 บาท)
สิทธิที่ 3 ปรับสภาพที่อยู่อาศัย
การปรับสภาพที่อยู่อาศัย ให้เหมาะสมกับคนพิการ เช่น การปรับห้องน้ำ การติดตั้งราวจับ การปรับสภาพผิวทางเดินรายละไม่เกิน 40,000 บาท (ปรับเพิ่มเงินช่วยปรับสภาพที่อยู่อาศัยผู้พิการเป็น 4 หมื่นบาท)
- ไม่เกิน 40,000 บาท
ถาม – ตอบ เกี่ยวกับคนพิการ
1. ต้องการเปลี่ยนผู้ดูแลคนพิการได้ไหม
-ได้ แต่ต้องดำเนินการหลังจากรับบัตรประจำตัวคนพิการไปแล้ว 1 ปี
2. มีบัตรเก่าจะต่อทะเบียนบัตรใหม่ได้ไหม
-ได้ เพียงท่านนำบัตรเก่าไปยื่นทำเรื่องที่ พมจ. ประจำจังหวัด
3. ให้คนอื่นดำเนินการทำบัตรคนพิการแทนได้ไหม
-ได้ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนแลละสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ได้รับมอบอำนาจแนบมาด้วย
4. บัตรใกล้หมดอายุติดต่อทำก่อนได้ไหม
-ได้ สามารถต่อได้ก่อนวันหมดอายุ 30 วัน
สอบถามเพิ่มเติม
โทร 02 354 2583 – 4 หรือศูนย์บริการคนพิการจังหวัดทั่วประเทศ
ถาม ตอบ เกี่ยวกับบัตรผู้พิการ
บัตรคนพิการทำได้ที่ไหนบ้าง?
พมจ. ประจำจังหวัด (ศาลากลาง) หรือใน กทม. ทำได้ที่ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพ
สิทธิประโชน์ของคนพิการมีอะไรบ้าง?
เบี้ยความพิการ 1,000 บาท/เดือน สินเชื่อไม่มีดอก ไม่มีคนค้ำ
เอกสารทำบัตรคนพิการมีอะไรบ้าง?
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน รูปถ่าย เอกสารรับรองจากแพทย์ และเอกสารของผู้ดูแลคนพิการ
คุณสมบัติผู้จะทำบัตรคนพิการ?
เป็นคนไทย และมีความพิการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวคนพิการ : กรมส่่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 255 ถนนราชวิธี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร 02 354 3388 หรือ www.dep.go.th