วิธีขอคืนเงินประกันค่าไฟฟ้า ลงทะเบียนไฟฟ้า ง่ายๆ
อัปเดต : • สวัสดิการลงทะเบียนไฟฟ้า วิธีขอคืนเงินประกันค่าไฟฟ้า สูงสุด 2,000 บาท
ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบสิทธิเพื่อขอรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าคืนได้ที่ https://cdp.pea.co.th/ หรือ สแกน QR Code ตามรูป
วิธีขอคืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
- กรอกข้อมูล
- เลือกประเภทผู้รับผลประโยชน์
- กรอกช่องทางการรับเงินคืน
- แนบเอกสารหลักฐาน
- รอรับเงินคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563
มาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือประชาชน ดูแลปัญหาภัยแล้ง และกระตุ้นเศรษฐกิจ
👍 ลงทะเบียนรับส่วนลดค่าไฟฟ้า 230 บาท/เดือน
👍 วิธีตรวจสอบยอดเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
👍 วิธีลงทะเบียนกู้เงินสินเชื่อเสริมพลังฐานราก
แนวทางการขอคืนเงินไว้ดังนี้
ข้อที่ 1 เงินประกันการใช้ไฟฟ้าจะคืนให้แก่
- ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย
- ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก
ข้อที่ 2 การไฟฟ้าจะให้ส่งคำร้องผ่านทาง website และสำหนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่
ข้อที่ 3 จะคืนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ และโอนเงินธนาคาร
ข้อที่ 4 ตรวจสอบสิทธิผู้ที่จะได้ขอคืนเงินประกันค่าไฟฟ้าในกรณีต่างๆ (กดตรวจสอบ)
วิธีการลงทะเบียนรับเงินคืนค่าประกันไฟฟ้า

ขั้นตอนที่ 1 เข้าเว็บไซต์
- https://cdp.pea.co.th/
- กรอกหมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า
- กรอกรหัสเครืองวัด
*ดูตามบิลค่าไฟฟ้าของเรา

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบข้อมูล / เลือกประเภทผู้ขอคืนเงินประกันค่าไฟฟ้า
- ด้านซ้ายมือให้ท่านทำการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ
- ด้านขวามือ ให้ท่านเลือกประเภทผู้มีสิทธิที่ต้องการขอเงินคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
อธิบายเพิ่มเติมผู้มีสิทธิขอเงินคืนประกันค่าไฟฟ้า
- บุคคลเดี่ยวกับชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า คือ กรณีที่ท่านเป็นเจ้าของเงินประกันการใช้ำฟฟ้าตามข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า (หากมีการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล ขอให้แนบหลักฐานประกอบเข้ามาด้วย)
- ผู้จัดการมรกด / ทายาท คือ กรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีชื่อปรากฏบนข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าเสียชีวิตหรือศาลส่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ และท่านเป็นผู้จัดการมรกด/ทายาท
- กรณีซื้อขาย โอนกรรมสิทธิ์, บ้านเช่า คือ กรณีที่ท่านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ไม่ใช้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าที่มีชื่อปรากฏบนข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า (ต้องมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อขาย โฉนด ที่ดิน) ส่วนกรณีบ้านเช่า ต้องมีหนังสือการโอนสิทธิให้รับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากเจ้าของเงินประกัน
- หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ คือ ต้องมีหนังสือขอรับคืนเงินประกันจากหน่วยงาน ลงนามโดยหัวหน้าหน่วยงาน
- มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ คือ ต้องมีใบอนุญาติจัดตั้งสมาคมมูลนิธิ หนังสือ ข้อบังคับของสหกรณ์ ฯลฯ พร้อมลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรองทุกฉบับ

ขั้นตอนที่ 3 กรอกรายละเอียดผู้ขอคืนเงิน / ช่องทางการคืนเงิน
กรอกข้อมูลในช่องที่มีเครื่องหมาย ดอกจันทร์สีแดง “*” ให้ครบถ้วน
- ประเภทบุคคล
- สัญญาติ
- หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- คำนำหน้า
- ชื่อ – นามสกุล
- อีเมล (หากไม่มีไม่ต้องกรอก) วิธีสมัครอีเมล์
- เบอร์โทรศัพท์ (สำหรับแจ้งผลการรับเงินประกัน)
ทางด้านขวามือโปรดเลือกช่องทางการคืนเงินที่ท่านสะดวก
ช่องทางที่ 1 คืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าผ่านพร้อมเพย์
ท่านต้องทำการสมัครบริการผูกพร้อมเพย์กับบัญชีธนาคารก่อน ทำได้ที่ตู้ ATM, App mobile bank หรือจะติดต่อสาขาของทางธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่
ช่องทางที่ 2 คืนเงินค่าประกันไฟฟ้าผ่านการโอนเข้าบัญชีธนาคาร
ต้องเป็นบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวันที่มีการเคลื่อนไหวเท่านั้น
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารทหารไทย
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารอิสลาม
- ธนาคาร ธ.ก.ส.
ช่องทางที่ 3 รับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าคืนที่สำหนักงานการไฟฟ้า ประจำสาขาใกล้บ้าน
กรอกข้อมูลการขอเงินคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
ขั้นตอนที่ 4 แนบเอกสาร
ให้ท่านแนบเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน เอกสารเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล , เอกสารใบรับประกัน เป็นต้น
- กดแนบเอกสาร
- กดลงทะเบียน ปุ่มสีเขียวๆ
*ต้องแนบบัตรประชาชนเป็นสำคัญ

ขั้นตอนที่ 5 ยอมรับเงื่อนไข การขอรับคืนเงินระกันการใช้ไฟฟ้า

ขั้นตอนที่ 6 รอรับ SMS และ อีเมล แจงผลการขอรับเงินคืนค่าประกันการใช้ไฟ
โดยอัตราการคืนเงินจะมีดังนี้
- มิเตอร์ขนาด 5 (15) คืนเงิน 300 บาท
- มิเตอร์ขนาด 15 (45) คืนเงิน 2,000 บาท
- มิเตอร์ขนาด 30 (100) คืนเงิน 4,000 บาท
- มิเตอร์ขนาด 15 (45) เฟส 3 คืนเงิน 6,000 บาท
ลงทะเบียนไฟฟ้า การคืนเงินจะคืนให้ผ่านช่องทางดังนี้
- พร้อมเพย์จะได้รับเงินคืนประมาณ 3 วันทำการ
- โอนผ่ายธนาคาร จะได้รับเงินภายใน 15 วันทำการ
-ธนาคาร กรุงไทย 5 วันทำการ
-ธนาคาร ไทยพาณิชย์ 5 วันทำการ
-ธนาคาร กสิกรไทย 10 วันทำการ
-ธนาคารอื่นๆ ภายใน 15 วันทำการ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ลงทะเบียนไฟฟ้า ขอเงินคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้าสอบถามเพิ่มเติมที่ :
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร 1129 / เพจเฟสบุุ๊ค PEA
- การไฟฟ้านครหลวง โทร 1130 / เพจเฟสบุ๊ค MEA